เรื่องที่ต้องรู้เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับระบบไฟฟ้าในอุตสาหกรรม
Ground fault protection, Motor protection, Digital relay, Overcurrent relay
อุตสาหกรรมและธุรกิจทุกวันนี้องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนเครื่องจักร สร้างผลผลิตและการทำงาน นอกจากนี้ตามกฎหมายและพระราชบัญญัตินั้น ทุกโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและมีการรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในทุกๆ ปี ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้แก่ไฟฟ้าในโรงงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในเบื้องต้นผู้ประกอบการควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เสริมความปลอดภัยให้แก่ระบบไฟฟ้าอย่างเหมาะสม อาทิเช่น Ground fault protection, Motor protection, Digital relay และOvercurrent relay เป็นต้น
รากฐานของระบบปฏิบัติการในโรงงานและองค์กรที่มีประสิทธิภาพ คือ ความมั่นใจและความปลอดภัยในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานหลักในการขับเครื่องเครื่องจักรและการทำงาน ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้าในโรงงานจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ เลยทีเดียว
สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเพิ่มเติม
ขนาดของโรงงาน ขนาดของโรงงานนั้นย่อมมีผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้า รวมถึงการเลือกระดับแรงดันไฟฟ้าก็ส่งผลการเลือกใช้อุปกรณ์ด้วยเช่นกัน
ประเภทของอุตสาหกรรม รูปแบบการใช้ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับประเภทของงานที่ทำด้วยเช่นกัน ถ้าหากการผลิตเป็นกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง continuous flow หรือแบบ batch flow ความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าขัดข้องจะมีสูงมาก เพราะจะกระทบต่อหน้างานและการผลิตโดยตรง
ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชนิดนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต่างกัน ดังนั้นทางวิศวกรและผู้ประกอบการอาจจะต้องคำนวณในส่วนนี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบไฟฟ้าโรงงาน
จะเห็นได้ว่าระบบไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะหน้างานที่มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อเกิดปัญหาจากระบบไฟฟ้าแต่ละที ผลผลิต ต้นทุน ความน่าเชื่อถือย่อมได้รับผลกระทบ ดังนั้นในเชิงบริหารจัดการ
- ขาดเสถียรภาพและความมั่นใจในการทำงาน
- เมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหาโอเวอร์โหลดมากเกินไป อาจจะทำให้มอเตอร์ไหม้ ลามไปจนถึงสร้างความเสียหายให้แก่อุปกรณ์และเครื่องจักรภายในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ค่าซ่อมจะสูงมาก และหากเสียหายหนักก็อาจจะซ่อมแซมไม่ได้
- ความเสียหายของระบบไฟฟ้า ทำให้เครื่องจักรขาดกระแสไฟฟ้า หน้างานและไลน์การผลิตจะต้องหยุดชะงัก รับรองว่าไม่คุ้มกับความเสียหายทางด้านผลผลิต ยิ่งหากลูกค้าบางรายมีค่าปรับหรือ Penalty ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ผู้ประกอบการได้
- เมื่อขาดการป้องกันหรือแผนสำรองที่ดีก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ อาทิเช่น ไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟรั่วลงกราวน์อุบัติเหตุแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน อุปกรณ์ หน้างานรวมถึงชีวิตคนได้
- ในกรณีที่มีอุปกรณ์แรงสูง หากมีการรั่วชำรุด และอยู่ใกล้สารเคมีที่ไวไฟ สามารถเกิดการระเบิดได้ จากเรื่องเล็กๆ จะลามไปเป็นอุบัติเหตุใหญ่ได้เลยทีเดียว
- สามารถเกิดปัญหาไฟดับเป็นบริเวณวงกว้างได้ ทำให้หน้างานติดชะงักและสูญเสียผลผลิตในการทำงาน
ดังนั้นมาเริ่มสร้างความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจด้วยการเลือกระบบที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วหน้างานจะมีการวางระบบการป้องกันในเบื้องต้นเช่น
- Unit Type Protection เป็นวิธีการป้องกันที่ตอบสนองต่อสภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่/เขตที่กำหนดหรือมีการกำหนดโซนไว้อย่างชัดเจน เช่น หม้อแปลง, Transmission line, Bus bar โดยยึดหลักทฤษฎีการทำงานของ Kirchhoff เป็นสากล
- Non Unit Type Protection ระบบการป้องกันวิธีนี้จะไม่ได้มีการกำหนดโซนหรือขอบเขตที่แน่นอน เพราะสามารถกำหนดโซนต่างๆ แบบทับซ้อนกันได้ โดยแนวทางของวิธีนี้นั้นจะประกอบไปด้วยระบบการป้องกันดังนี้
- a) Instantaneous Overcurrent Relays (รีเลย์กระแสเกินแบบทำงานทันที) รีเลย์ชนิดนี้จะไม่มีการหน่วงเวลาสำหรับการทำงาน เวลาในการทำงานของรีเลย์จะอยู่ที่ประมาณ 100 ms
- b) Time Overcurrent Relays (รีเลย์กระแสเกินแบบทำงานหน่วงเวลา) วิธีนี้จะให้รีเลย์ทำงานตามเวลาที่ถูกกำหนดเอาไว้
- c) Inverse Definite Minimum Time (IDMT) Overcurrent Relays (รีเลย์กระแสเกินแบบผสม) โดยจะมีลักษณะผกผันคือ โหลดกระแสเกิน มีการหน่วงเวลายาว แต่ถ้าหากกระแสลัดวงจรมาก การหน่วงเวลาจะสั้น
โดยในบทความนี้ขอนำเสนอเรื่องของระบบ Overcurrent Protection เพราะว่าเป็นวิธียอดนิยมเนื่องจากสามารถทำได้ง่ายและใช้กันแพร่หลายมากที่สุด
Overcurrent Protection คือ ระบบป้องกันยอดนิยม มีผู้ประกอบการและโรงงานใช้กันอยู่มากมายทั่วโลกทำให้ระบบนี้ได้รับการพัฒนาในส่วนของอุปกรณ์การใช้งาน รวมถึงทางด้านเทคนิคอยู่เรื่อยมา จนปัจจุบันมีการใช้งานค่อนข้างแพร่หลาย เพราะสามารถช่วยป้องกันข้อผิดพลาดจากการจ่ายกระแสไฟที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปได้อย่างทันท่วงที โดยรีเลย์จะตรวจจับกระแสไฟฟ้าและทำงานเมื่อพบว่ามีกระแสเกินค่าที่กำหนดไว้ (ค่าที่ตั้งไว้) เรียกว่า Overcurrent Relay หรือรีเลย์กระแสเกิน รวมถึงยังช่วยในกรณีการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจาก Ground fault ตัว Overcurrent relay ก็สามารถป้องกันระบบไฟฟ้าได้ในหลายๆ ส่วน เช่น Transmission Lines, Transformers, Generators, และ Motor protection เป็นต้น
สำหรับการป้องกันโดยทั่วไปมักจะมีรีเลย์มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อป้องกันส่วนต่างๆ โดย Overcurrent relay เหล่านี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้รีเลย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดทำงานก่อน โดยหลักการ Overcurrent Relay จะปกป้องการทำงานใน 3 ส่วนเป็นหลักคือ
- Overload Overcurrent เกิดจากการโอเวอร์โหลดโดยอาจจะมีการออกแบบใหม่หรือมีการดัดแปลงวงจรที่มีอยู่เดิม ทำให้จำเป็นต้องถ่ายทอดกระแสโหลดเกินกว่าค่าความแอมป์โหลดที่กำหนดของตัวนำวงจร นอกจากนี้เมื่อมอเตอร์ทำงานหนักเกินไป อาการ overload หรือกระแสไฟฟ้าเกินพิกัดก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
- Short-Circuit Overcurrent การลัดวงจรมักจะเกิดขึ้นเมื่อสายไฟ “ร้อน” สัมผัสกับลวดร้อนหรือสัมผัสกับสายกลาง นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุได้อีกเช่น สามารถเกิดขึ้นได้หากมีสายไฟในวงจรขาด โดยปกติอาการ มักจะมีสาเหตุมาจากการเสียดสีของสายไฟและอุปกรณ์ หรืออาจจะเกิดจากความเสียหายภายในของตัวนำวงจรอย่างน้อยสองตัว (การจ่ายและการส่งคืน) ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการลัดวงจรในขดลวดได้
- Ground-Fault Overcurrent เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าของอาคารหรือโครงสร้างอิงกับการใช้สายดิน โดยปัญหามักจะคล้ายกับการลัดวงจร แต่จะมักจะเกิดปัญหาจากสายไฟที่ร้อนขึ้น หรือมีรอยแตกแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งสัมผัสกับวัตถุที่มีสายดินเช่นกล่องไฟฟ้าโลหะ และอาจส่งผลทำให้เกิดประกายไฟได้
ยกระดับการป้องกันขั้นกว่ากับเทคโนโลยีพิเศษจากอุปกรณ์
Digital Relay ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมทั่วโลกก็หันมาใช้ Digital Relay กันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือทางด้านประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Digital Relay ยังมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Digital relay นั้นสามารถวินิจฉัยปัญหาระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอย่าง Over current, Under current, Phase loss, Phase reversal, Stall, Jam, Current imbalance, Earth fault และ Short circuit และในปัจจุบันระบบใหม่ๆ นั้นมักจะสามารถแสดงผลการทำงานได้แบบ และมีความแม่นยำสูง ที่สำคัญสร้างความมั่นใจและทำให้การทำงานเดินหน้าได้เต็มที่ไม่มีสะดุด โดยตัวระบบ Digital relay นั้นสามารถแสดงสัญญาณ Trip และ Load factor หรือ การสูญเสียพลังงานทางไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสามารถป้องกัน Ground fault ได้อีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ ที่ได้รับการผสมผสานจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยแล้ว ระบบ Digital relay ถือว่าฉลาดล้ำ ช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการได้ดีขึ้น และช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับองค์กร พนักงาน รวมไปถึงลูกค้า ที่สำคัญระบบการทำงานและการผลิตไหลลื่นแบบไม่หยุดชะงัก ช่วยเพิ่มผลผลิตยอดขายและสามารถบริหารระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน
Reference:
https://electrical-engineering-portal.com/types-and-applications-of-overcurrent-relay-1#content
https://www.allaboutcircuits.com/technical-articles/ocpd-overcurrent-protection-device-power-system/
https://circuitglobe.com/overcurrent-relay.html
https://electrical-engineering-portal.com/types-and-applications-of-overcurrent-relay-1#content
https://electricalbaba.com/unit-and-non-unit-protection-scheme/
https://electricalbaba.com/over-current-relay-and-its-characteristics/
http://eestaff.kku.ac.th/~sa-nguan/192424/06-Phase%20and%20Earth.pdf
https://electrical-engineering-portal.com/few-words-about-digital-protection-relay
https://pacbasics.org/overcurrent-protection-devices-time-current-curves/